เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ความเพียรครั้งแรกชื่อว่า อารัพภธาตุ ในคำมีอาทิว่า อารพฺภ-
ธาตุ.
ความเพียรมีกำลังแรงกว่านั้น เพราะออกจากความเกียจคร้าน
ได้ ชื่อว่า นิกกมธาตุ ความเพียรที่แรงกว่านั้น เพราะก้าวไปยังฐาน
ข้างหน้า ๆ ชื่อว่า ปรักกมธาตุ. แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า
ความเพียรเริ่มแรก เพื่อบรรเทากาม 1 การก้าวออกเพื่อกำจัดกิเลส
ดุจลิ่ม 1 ความบากบั่น เพื่อตัดกิเลสดุจเครื่องผูก 1 แล้วกล่าวว่า
เรากล่าวว่า ความเพียรมีประมาณยิ่งกว่าทั้ง 3 อย่างแม้นั้น.

บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ได้แก่ผู้มีความเพียรที่บริบูรณ์ และมี
ความเพียรที่ประคองไว้ ในสองอย่างนั้น ความเพียรที่ปราศจาก
โทษ 4 อย่าง พึงทราบว่า ความเพียรที่เริ่มแล้ว แต่ไม่ใช่ที่ย่อหย่อน
เกินไป ไม่ใช่ที่ประคองเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ความเพียรที่หดหู่ในภายใน
และไม่ใช่ความเพียรที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ความเพียรนี้นั้น มี 2 อย่าง
คือความเพียรทางกาย 1 ความเพียรทางใจ 1

ในสองอย่างนั้น พึงทราบความเพียรทางกายของภิกษุ
ผู้พากเพียรพยายามทางกาย ตลอด 5 ส่วน ของกลางคืนและ
กลางวันอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อมชำระจิตเสียจาก
ธรรมที่พึงกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวัน. พึงทราบความ
เพียงทางจิตของภิกษุผู้พากเพียรพยายามผูกใจ ด้วยการกำหนด